ลักษณะของซิลิก้าเจลแต่ละชนิด

ซิลิก้าเจลหรือซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) คือ ซิลิก้ารูปหนึ่งที่สังเคราะห์ขึ้นในรูปของซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน อาทิ ใช้เป็นสารดูดซับความชื้น ใช้เป็นส่วนผสมของพลาสติกเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ใช้ผสมในเครื่องสำอางเพื่อลดแรงตึงผิว และใช้เป็นสารตั้งต้นในการทำให้เกิดเมฆ เป็นต้น

ซิลิก้าเจล ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1864 โดย Thomas Graham ถูกนำมาใช้เป็นสารดูดซับก๊าซพิษในหน้ากาก ต่อมาในปี ค.ศ. 1919 Patrick จึงค้นพบวิธีการผลิตซิลิก้าเจลได้ ซึ่งเตรียมได้จากโซเดียมซิลิเกต จนนำมาสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่นั้นมา

ซิลิก้าเจลมีลักษณะเป็นคอลลอยด์ของซิลิก้าที่ต่อกันเป็นโครงร่างแห 3 มิติ ที่มีรูพรุนจำนวนมาก ซึ่งเกิดจากการโพลิเมอร์ไรซ์ของกรดซิลิซิก มีสูตรทั่วไปคือ xSiO2.yH2O โดยซิลิก้าเจลที่มีอนุภาคขนาดเล็กหรือมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อย เรียกว่า ซิลิก้าพาวเดอร์ ซึ่งมีความแข็งน้อยกว่า ซิลิก้าเจล

ชนิดของซิลิก้าเจล (Silica Gel)

  1. ชนิดเม็ดสีขาว(White Silica Gel)

ชนิดเม็ดสีขาว มีขนาดเม็ดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร เนื้อเมล็ดมีสีขาวใส สามารถดูดซับความชื้นได้ประมาณ 35-40%

  1. ชนิดเม็ดสีน้ำเงิน (Blue Silica Gel)

ชนิดเม็ดสีน้ำเงิน มีขนาดเมล็ดเท่ากับชนิดเม็ดสีขาว แต่ต่างที่เมล็ดจะมีสีน้ำเงิน และมีการเติมสารโคบอลต์ผสมเข้าไปด้วยเพื่อให้สามารถตรวจวัดระดับความชื้นที่ถูกดูดวับไว้ได้ ทำให้ผู้ใช้ทราบว่าซิลิก้าดูซับความชื้นเต็มที่แล้วหรือยัง สมควรที่จะเปลี่ยนหรือไม่ โดยซิลิก้าเริ่มใช้จะเป็นสีน้ำเงิน หากมีการดูดซับความชื้นเต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือสีม่วงอ่อน ซึ่งต้องเปลี่ยนซิลิก้าใหม่หรือนำไปอบแห้งกลับมาใช้ใหม่

  1. ชนิดเม็ดสีส้ม (Orange Silica Gel)

ชนิดเม็ดสีส้ม จะมีขนาดเท่ากับชนิดเม็ดสีขาว แต่มีคุณสมบัติพิเศษเหมือนกับชนิดเม็ดสีน้ำเงิน กล่าวคือ เมื่อเริ่มใช้ที่เม็ดซิลิก้ายังไม่ดูความชื้นจะมีสีส้ม แต่หากดูดความชื้นจนเต็มที่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อน ซิลิก้าชนิดนี้ ไม่นิยมในไทย เพราะมีราคาสูงมากเมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ

  1. ชนิดเม็ดทราย (Silica Sand)

ชนิดเม็ดทราย มีขนาดเม็ดเล็ก และมีสีคล้ายกับทราย มีคุณสมบัติคล้ายกับชนิดเม็ดขาวทุกประการ แต่ขนาดจะเล็กกว่าที่ 1 มิลลิเมตร เท่านั้น

This entry was posted in ไม่มีหมวดหมู่. Bookmark the <a href="https://tadalisetadalafil.com/%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%93%e0%b8%b0%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%8b%e0%b8%b4%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b8%a5%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b9%88/" title="Permalink to ลักษณะของซิลิก้าเจลแต่ละชนิด" rel="bookmark">permalink</a>.

Comments are closed.